/images/avatar.png

สร้างแฟลชไดรฟ์ (Flash drive) ที่มีการเข้ารหัสเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายการสร้างแฟลชไดรฟ์ที่มีการเข้ารหัสเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญ โดยใช้ซอฟแวร์ Linux Unified Key Setup (LUKS) 1

เมื่อก่อนผมใช้งานระบบปฎิบัติการ Windows ผมเลือกเก็บข้อมูลด้วยการเข้ารหัสโดยการใช้ซอฟแวร์ BitLocker 2 เข้ารหัสทั้งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล หรือใช้ซอฟแวร์ VeraCrypt 3 (หรือ TrueCrypt 4 ชื่อในอดีต) สำหรับสร้างไดรฟ์ข้อมูลเข้ารหัสเสมือน (virtual encrypted disk) โดยใช้เก็บสำรองไฟล์เข้ารหัสลงในแฟลชไดรฟ์ และนำไปใช้งานกับเครื่องอื่นๆ ทั้ง Windows หรือ Linux

แต่เมื่อย้ายมาที่ระบบปฎิบัติการ Ubuntu มากขึ้น ผมต้องการสำรองข้อมูล Public และ Private Key 5 จึงมองตัวเลือกอื่น ในการสำรองข้อมูลและเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย โดยได้เลือกใช้ LUKS 1 สำหรับการสำรองข้อมูลแบบเข้ารหัสในแฟลชไดรฟ์

การใช้งานตัวห้อย (Subscript) ใน Markdown ของ Hugo

ผมใช้ Hugo Framework 1 สร้างเว็บไซต์นี้ เพื่อเขียนบล็อคบทความต่างๆ จนกระทั่งวันก่อนต้องการเขียนบทความที่มีตัวห้อย (Subscript) สำหรับแสดงค่า Fibonacci ที่ตำแหน่งใดๆ แทนด้วยตัวอักษร i ซึ่งต้องการให้ i เป็นตัวห้อยของ f เช่น Fibonacci ที่ตำแหน่ง 0 แทนด้วยสัญลักษณ์ f0

รู้จัก Pisano Period ตัวช่วยทำโจทย์ Fibonacci

ทุกคนที่ได้เรียนเขียนโปรแกรมคงคุ้นเคยกับโจทย์หาค่าของ Fibonacci ตำแหน่งที่ i ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้ fi = fi-1 + fi-2 โดยที่ f0 = 0 และ f1 = 1

การสร้างกราฟที่มีข้อมูลภาษาไทยด้วย Matplotlib

ผมใช้ Python Notebook ในการแสดงและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นอย่างเป็นประจำ จนกระทั้งวันนี้ต้องการสร้างกราฟฮิสโตแกรม (Histogram) เพื่อหาความถี่ของคำภาษาไทย และพบว่าการสร้างกราฟด้วย Matplotlib กับข้อมูลภาษาไทยนั้นมีปัญหาการแสดงผลข้อความภาษาไทยไม่ถูกต้อง 1 โดยแสดงอักษรไทยเป็นรูปกล่องตามภาพด้านล่าง จึงลองหาวิธีแก้ไขปัญหานี้

เริ่มด้วยการตั้งวัตถุประสงค์ (Objective)

เริ่มต้นด้วยการตั้งวัตถุประสงค์1ให้กับตัวเองในการเขียนบล็อคครั้งนี้กันก่อน ซึ่งจะใช้เป็นเป้าหมายและวัดผลลัพธ์ของการลงมือเขียนบล็อคในอนาคต